ขลุ่ย
ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวๆ
ไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้อย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ ใหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม
ด้านหน้าเจาะรูกลมๆเรียงแถวกัน 7 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเสียง ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่
แต่เขาใช้ไม้อุด
เต็มปล้อง แล้วปาดด้านล่างให้มีช่อง ไม้อุดนี้เรียกว่า ดาก ทำด้วยสไม้สักเพราะไม่มีขุยมาบังลม
ด้านหลังใต้ดากลงมา เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะ
ทะลุตรงเหมือนรูด้านหน้า รูที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ เรียกว่า
รูปากนกแก้ว ใต้รูปากนกแก้วลงมา เจาะรูอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เพราะเวลาเป่า
ผู้เป่าจะใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ เหนือรูนิ้วค้ำด้าน หลัง และเหนือรูบนของรูด้านหน้าทั้งเจ็ดรู
แต่อยู่ทางด้านขวา เจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า รูเยื่อ เพราะแต่ก่อนจะใช้เยื่อไม้ไผ่ปิดรูนี้
ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้ ตรงปลายเลาขลุ่ยจะเจาะรูให้ซ้ายขวา ตรงกันเพื่อร้อยเชื่อก
เรียกว่า รูร้อยเชือก ดังนั้น จะสังเกตุว่า ขลุ่ย 1 เลา จะมีรูทั้งสิ้น 14
รู
ขลุ่ยมีทั้งหมด 3 ชนิดคือ
(1) ขลุ่ยหลีบ มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 36 ซม กว้างประมาณ 2 ซม
(2) ขลุ่ยเพียงออ มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 45 46 ซม กว้างประมาณ 4 ซม
(3) ขลุ่ยอู้ มีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 60 ซม กว้างประมาณ 4 5 ซม
ต่อมามีผู้สร้างขลุ่ยกรวดขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง
มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ
1 เสียง ขลุ่ยกรวดใช้กับวงเครื่องสายผสมที่นำเอาเครื่องดนตรีฝรั่ง มาเล่นร่วมวง
ปี่
ปี่ เป็นเครื่องดนตรีไทยแท้ๆ ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้
พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง
ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราว
ข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียกทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน
6 รู รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของเลาปี่
กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วย
ใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด
เรียวยาวประมาณ 5 ซม กำพวดนี้ทำด้วยทอง เหลือง เงิน นาค เหรือโลหะอย่างอื่นวิธีผูกเชือกเพื่อ
ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของกำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียน
ด้วยเส้นด้าย สอดเข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายจะทำให้เกิดความ
แน่นกระชับยิ่งขึ้น
ปี่ของไทยจัดได้เป็น 3 ชนิดดังนี้
(1) ปี่นอก มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 31 ซม กว้าง 3.5 ซม เป็นปี่ที่ใช้กันมาแต่เดิม
(2) ปี่กลาง มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 37 ซม กว้างประมาณ
4 ซม สำหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีสำเนียงเสียงอยู่ระหว่าง
ปี่นอก กับปี่ใน
(3) ปี่ใน มีขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 41 42 ซม กว้างประมาณ 4.5 ซม เป็นปี่ที่พระอภัยมณีใช้สำหรับเป่าให้นางผีเสื้อสมุทร ขาดใจตายนั่นเอง